สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง  

            ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดในสัตว์ เช่น หนูแฮมสเตอร์ และกระต่าย คือ ไวรัส เช่น โปลิโอมา ไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดในคนสามารถทำให้เกิดมะเร็งในหนูได้ ส่วนในคนนั้นเรายังไม่เคยแยกเชื้อไวรัสจากมะเร็งได้เลย เชื่อกันว่าการที่จะเกิดมะเร็งนั้นมีสาเหตุช่วยร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ สารเคมีบางชนิด การกระทบกระแทก แผลเรื้อรัง รังสี แสงแดด ปาราสิตบางชนิด สำหรับสารเคมีพวกที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้นั้น เราเรียกว่า คาร์ซิโนเจน(Carcinogen) ซึ่งเป็นตัวที่ไปทำให้โครโมโซมที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ปกติของร่างกายพิการไป โดยทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวออกไปเรื่อยๆ ไม่หยุด จนเป็นก้อนมะเร็งลุกลามเบียดเสียดเซลล์ดีออกไป จนเป็นอันตรายต่ออวัยวะนั้น และแตกกระจายออกไปเป็นอันตรายต่อร่างกายในที่สุด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ 
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ คือ
            1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจากเชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน(Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน(Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหารชื่อ ไนโตรซามิน(Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
           
1.2 รังสีเอ็กซเรย์อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
            1.3 
จุลินทรีย์ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบีสัมพันธ์กับมะเร็งตับ, ไวรัสฮิวแมนเพ็พปิลโลมาสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเซลล์เยื่อบุต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก, ไวรัสเอนสไตน์บาร์มีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งหลังโพรงจมูก, พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับมีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีตับ
            1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
            1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น

2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด มีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง และภาวะทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ, ซี เป็นต้น

            จะเห็นว่ามะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987) ถ้าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม แล้วพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผล แต่ทำให้ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง หรือมากกว่ากลุ่มอื่นๆ 

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง

1. ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของระบบหายใจ ได้แก่ ปอดและกล่องเสียง เป็นต้น
2. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ ถ้าทั้งดื่มสุรา และสูบบุหรี่จัดจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และในลำคอด้วย
3. ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิษชื่อ อัลฟาทอกซิลที่พบจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น ถั่วลิสงป่น เป็นต้น หากรับประทานประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และหากได้รับทั้ง  2 อย่าง โอกาสจะเป็นมะเร็งตับมากขึ้น
4. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ เยื่อบุมดลูก และต่อมลูกหมาก
5. ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และรับประทานอาหารที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอันเกิดจากความผิดปกติจากพันธุกรรม หรือติดเชื้อไวรัสเอดส์จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งของหลอดเลือด เป็นต้น 
7. ผู้ที่รับประทานอาหารเค็มจัด อาหารที่มีส่วนผสมดินประสิว และส่วนไหม้เกรียมของอาหารเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และลำไส้ให
ญ่ 
8. ผู้ที่มีประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว เช่น มะเร็งของจอตา มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นติ่งเนื้อ เป็นต้น
9. ผู้ที่ตากแดดจัดเป็นประจำ จะได้รับอันตรายจากแสงแดดที่มีปริมาณของแสงอุลตราไวโอเลตจำนวนมาก มีผลทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ 

            เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็ง จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และเมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ มะเร็งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรคร้ายก็จะไม่เป็นโรคที่น่ากลัวอีกต่อไป

 

    

 

/ โรคมะเร็ง / การตรวจโรคมะเร็ง / สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง / การป้องกัน

/ ลักษณะอาการ / โรคมะเร็งชนิดต่างๆ / วิธีบำบัดรักษา / แหล่งที่มา /