มะเร็ง CANCER  

           มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม  ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการเจริญเติบโตของหลอดเลือดสามารถทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง และกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ โดยผ่านไปตามต่อมน้ำเหลือง และกระแสเลือด 
 
            มะเร็งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยมีพฤติกรรม หรือสุขนิสัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยเสริม เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ความผิดปกติของยีน(พันธุกรรม) มาแต่กำเนิด หรือได้รับสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี รังสี สารพิษจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น
 
            ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น เท่าที่มีรายงานไว้ในขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น โดยในเพศชายมักจะพบว่าเป็นมะเร็งอายุระหว่าง 50 - 70 ปี และในเพศหญิงตั้งแต่อายุ 34 - 70 ปี 
 
            การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสมของผู้ป่วยมะเร็ง 
การรักษาจะยาก หรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง และการดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น 

            มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ และไปรับการรักษาได้เร็ว มะเร็งบางชนิดหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 80-100% สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "กำลังใจ" ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะต้องเข้มแข็ง ไม่ท้อแท้ พร้อมกันนี้ก็ให้ปรับพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง เช่น งดสูบหรี่ สารพิษในบุหรี่ก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก และกล่องเสียง ควรรับประทานอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งจำเจเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาหารหมักดอง อาหารรมควัน ปลาแห้ง ปลาเค็ม ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร

            ดังนั้น ความสำคัญของการรักษาโรคมะเร็ง อยู่ที่ความเข้าใจของประชาชนในเรื่องของมะเร็ง เพื่อที่จะได้รับพบแพทย์โดยเร็วเมื่อสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น

            นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ก็เป็นวิธีหนึ่งที่อาจป้องกันการสูญเสียชีวิตจากมะเร็งได้

โรคมะเร็งป้องกันได้หรือไม่ ?

            โรคมะเร็งไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับสังคมบ้านเรา แต่เมื่อมีใครป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคนี้สักคน จะเป็นที่ฮือฮาวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ยิ่งคนมีชื่อเสียงรู้จักกันดีในสังคม โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายแรงมีโอกาสรอดยาก การป้องกันแทบมองไม่เห็น ยังเป็นความรู้สึกที่ฝังใจของคนหลายๆ คนตลอดมา

            ปัจจุบัน วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้ามากทำให้เรามีความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้ รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย การป้องกัน และการควบคุมมะเร็งจึงเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน และเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งมากที่สุด เพราะเป็นปัญหาสาธารณสุขโลก เป็นสาเหตุการตายประมาณ 13% ของคนตายทั้งหมดจำนวนมากกว่า 6 ล้านคนในปี พ.ศ.2537

            ในประเทศไทยมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจ และอุบัติเหตุ ติดต่อกันมาหลายปี อัตราการตายจากโรคมะเร็งมีแนวโน้มว่าสูงขึ้นทุกปี โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมา มะเร็งปอด ปากมดลูก เต้านม ลำไส้ใหญ่ ช่องปาก ตามลำดับ ถ้าแยกตามเพศแล้วพบว่า

 

10 อันดับของมะเร็งที่พบมากในเพศชาย คือ

10 อันดับ ของมะเร็งที่พบมากในเพศหญิง คือ

  1. มะเร็งตับ

  2. มะเร็งปอด

  3. มะเร็ง กระเพาะอาหาร

  4. มะเร็ง ลำไส้ใหญ่ 

  5. ่มะเร็ง ช่องปาก

  6. มะเร็ง กระเพาะปัสสาวะ

  7. มะเร็ง ผิวหนัง

  8. มะเร็ง หลอดอาหาร

  9. มะเร็ง กล่องเสียง

  10. มะเร็ง ต่อมลูกหมาก

 

  1. มะเร็งปากมดลูก
  2. มะเร็งตับ

  3. มะเร็งเต้านม
  4. มะเร็งปอด
  5. มะเร็งช่องปาก
  6. มะเร็งรังไข่ 
  7. มะเร็งลำไส้ใหญ่ 
  8. มะเร็งผิวหนัง
  9. มะเร็งต่อมไทรอยด์ 
  10. มะเร็งเม็ดเลือดขาว

            ในการควบคุมมะเร็งที่พบบ่อยขององค์การอนามัยโลกได้ลำดับความสำคัญ และแผนดำเนินการของการควบคุมโรคมะเร็งที่พบบ่อยในแต่ละชนิด ซึ่งประเทศไทยโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด ควรดำเนินการป้องกันการเกิดโรค โดยศึกษาวิจัยหาสาเหตุ และสารป้องกันการเกิดมะเร็ง ควรกำหนดมาตรฐานการควบคุม และเฝ้าระวังการใช้สารก่อมะเร็งทั้งในแหล่งผลิต และสารก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม

            การป้องกันในระดับที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ควรมีการรณรงค์ให้ตรวจหาตั้งแต่เริ่มแรกมากขึ้น การป้องกันในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแล้ว องค์การอนามัยโลก กำหนดจุดมุ่งหมายเอาไว้ คือ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

            เนื้องอก คือ ก้อน หรือตุ่มที่โตขึ้นผิดปกต ิเกิดจากเซลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้าย หรือมะเร็ง

             โรคมะเร็ง คือ เซลล์ที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ กลายเป็นก้อนมะเร็งสามารถบุกรุกทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง และกระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ 

            ขบวนการเกิดโรคมะเร็ง เมื่อร่างกายได้รับสิ่งก่อมะเร็ง เช่น สารเคมี ไวรัส รังสี สิ่งเหล่านี้จะทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง ในที่สุดเซลล์ปกติจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ถ้าระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถทำลายเซลล์นั้นได้ เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนมะเร็งต่อไป

รอบรู้โรคมะเร็ง

            มีการคาดการณ์การว่าในปี พ.ศ. 2558 จะมีคนป่วยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นจาก 9 ล้านคน เป็น 15 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นผู้ที่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุมาจาก การเพิ่มจำนวนประชากร จำนวนผู้สูงอายุ และอัตราของผู้สูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดำเนินชีวิตของผู้คน และภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกัน และควบคุมได้อย่างทั่วถึง

            ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีรายงานผู้ป่วยจากสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเนื้องอก(รวมมะเร็ง) ทั่วประเทศจำนวน 188,619 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.51 โดยเป็นมะเร็งตับมากที่สุดจำนวน 7,366 ราย รองลงมาเป็นมะเร็งปอด 5,279 ราย มะเร็งเต้านม 5,042 ราย และมะเร็งมดลูก 4,422 ราย ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน และพบว่าสาเหตุของการตายด้วยมะเร็งตับ และท่อน้ำดีมีมากที่สุดจำนวน 6,004 ราย เป็นชาย 4,219 ราย หญิง 1,785 ราย เป็นมะเร็งหลอดลม และปอด 2,772 ราย เป็นชาย 1,982 ราย และหญิง 790 ราย

 

    

 

/ โรคมะเร็ง / การตรวจโรคมะเร็ง / สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง / การป้องกัน

/ ลักษณะอาการ / โรคมะเร็งชนิดต่างๆ / วิธีบำบัดรักษา / แหล่งที่มา /