การตรวจโรคมะเร็ง  

            การบริการตรวจสุขภาพ และตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรกเป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการใดๆ ผิดปกติ และเป็นการตรวจผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิด ซึ่งสามารถตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกได้ เพื่อหวังผลในการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาด  และเมื่อตรวจพบว่าเป็นผู้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งชนิดใด  จะส่งเข้ารับการตรวจในคลินิกเฉพาะโรค เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป เช่น คลินิกเต้านม คลินิกตับ และทางเดินอาหาร คลินิกนรีเวช คลินิกปอด คลินิกโรคเลือด และน้ำเหลือง คลินิกทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

คลินิกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

            คลินิกเฉพาะโรค
            เป็นคลินิกสำหรับบริการตรวจรักษาผู้ที่มีอาการเฉพาะระบบ เพื่อตรวจค้นหา วินิจฉัย และรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือเป็นคลินิกสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ซึ่งได้รับการตรวจพบจากคลินิกตรวจสุขภาพทั่วไป
            กลุ่มผู้รับบริการ คือ ประชาชนผู้ที่มีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งนั้น ๆ

            คลินิกผู้ป่วยส่งต่อ
   
         เป็นคลินิกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่แพทย์ส่งมาจากสถานพยาบาลต่างๆ โดยตรวจพบโรค หรือสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง และได้ทำหนังสือส่งตัวมาจากสถานพยาบาลเหล่านั้น ให้มารับการตรวจวินิจฉัย และรักษาตัวที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 

            คลินิกตรวจรักษาด้วยเครื่องมือพิเศษ
   
         เป็นคลินิกที่บริการตรวจรักษาโรคมะเร็งโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องส่องตรวจภายใน(Endoscope)  ซึ่งเป็นกล้องส่องตรวจหลอดคอ โพรงจมูก หลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ และท่อน้ำดี เป็นต้น

            คลินิกตรวจรักษาติดตามผล
            เป็นคลินิกตรวจรักษาติดตามผู้ป่วย(Follow up Clinic) ที่ได้รับการรักษา หรือวินิจฉัยแล้ว เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

            คลินิกวางแผนการรักษาเฉพาะทางโรคมะเร็ง(Tumor   conference   clinic)
            เป็นคลินิกซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งแล้ว เข้ารับการตรวจ และปรึกษาวางแผนการรักษาร่วมกัน โดยมีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสาน

ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

            การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้นการรักษาได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกันมิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ โดยกลุ่มผู้รับบริการ คือ ประชาชนทั่วไป ยกเว้นเด็กที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ซึ่งการวินิจฉัยสามารถทำได้หลายวิธี คือ

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

            เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่องจากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น

            การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้ 

1.    การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2.    การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3.    การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่นๆ

            1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญ เนื่องจากอาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น

            1.1 ประวัติครอบครัว มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด  มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
            1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม มีข้อสังเกตว่า สิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานานๆ อาจเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น
   
         1.3 ประวัติส่วนตัว อุปนิสัย และพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคล ก็อาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็งบางอย่าง เช่น 
                        * ผู้ที่สูบบุรี่มากๆ เป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 
                        * ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ มีบุตรมาก จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
                        * ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
                        * เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
                        * หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ 
                        * การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ  ปัสสาวะผิดไปจากปกติ 
            1.4  ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่างๆ
                        * เป็นตุ่ม  ก้อน  แผล  ที่เต้านม  ผิวหนัง  ริมฝีปาก  กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
                        * ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ 
                        * เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย

            2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติแพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้

                        * ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน
   
                     * ศีรษะ และคอ
                        * ทรวงอก และเต้านม
   
                     * ท้อง
   
                     * อวัยวะเพศ
   
                     * ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

            3.  การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่นๆ 

            3.1  การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษาโรคมะเร็งด้วย ได้แก่ 
                        *  การตรวจเม็ดเลือด
                        *  การตรวจปัสสาวะ อุจจาระ
                        *  การตรวจเลือดทางชีวเคมี 
            3.2  การตรวจเอ๊กซเรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น 
                        *  การเอ๊กซเรย์ปอด เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง  ในการตรวจสุขภาพ
                        *  การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
                        *  การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
            3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร หลักสำคัญในการตรวจ คือ ให้ผู้ป่วยกลืน ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าวจะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้นๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ สมอง ตับ กระดูก เป็นต้น
            3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่น หลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
            3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่างๆ เช่น
                        *  การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
                        *  เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ
            3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัดเนื้อเยื่อจากบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อยๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

    

 

/ โรคมะเร็ง / การตรวจโรคมะเร็ง / สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง / การป้องกัน

/ ลักษณะอาการ / โรคมะเร็งชนิดต่างๆ / วิธีบำบัดรักษา / แหล่งที่มา /

 

3633;สสาวะ อุจจาระ
                        *  การตรวจเลือดทางชีวเคมี 
            3.2  การตรวจเอ๊กซเรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งมีวิธีการหลายอย่าง เช่น 
                        *  การเอ๊กซเรย์ปอด เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง  ในการตรวจสุขภาพ
                        *  การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
                        *  การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
            3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร หลักสำคัญในการตรวจ คือ ให้ผู้ป่วยกลืน ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าวจะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้นๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ สมอง ตับ กระดูก เป็นต้น
            3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่น หลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
            3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่างๆ เช่น
                        *  การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
                        *  เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ
            3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา