ตราโรงเรียน

เกร็ดความรู้

ตราโรงเรียน

 

RIDEPENCIL

สมุนไพรไทย
ระบบนิเวศทางทะเล

[หาดทราย][ตัวอย่างสัตว์]

               

หาดทราย

บริเวณชายหาดทรายมีลักษณะเป็นพื้นราบเรียบ ไม่มีแหล่งหลบซ่อนกำบังตัวเหมือนบริเวณโขดหินและแนวปะการัง ปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ คือ คลื่นจะพัดพาเอาเม็ดทรายให้เคลื่อนที่ไปมาได้ นอกจากนี้เมื่อน้ำทะเลลดลงในเวลากลางวัน พื้นทรายในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะได้รับอิทธิพลจากแสงแดดทำให้ระดับอุณหภูมิสูงขึ้น สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามชายหาดทรายจึงมีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ การฝังตัว ขุดรูลึกลงไปในพื้นทราย สร้างหลอดเป็นเกราะกำบังตัว อาศัยวัสดุแข็งที่ตกหล่นอยู่หลบซ่อนตัว หรือการอพยพย้ายถิ่นขึ้นลงตามน้ำทะเล เป็นต้น

สัตว์ที่พบตามหาดทรายตามแนวชายฝั่งบริเวณเหนือระดับน้ำขึ้นสูงสุด จะปูลม ขุดรูอาศัยอยู่ในพื้นทรายตอนกลางวัน และออกมาหาอาหารตอนกลางคืน บางชนิดมีขนาดใหญ่สามารถวิ่งไปบนพื้นทรายได้อย่างรวดเร็ว ชายหาดบางแห่งมีดินโคลนปนอยู่ มักมี ปูก้ามหัก อาศัยอยู่ เมื่อน้ำทะเลลดลงจะพบปูชนิดนี้ขึ้นมาหาอาหารจากเศษอินทรีย์ตามพื้น หากมีอันตรายเข้ามาใกล้ปูจะรีบฝังตัวลงไปในพื้นทรายปนโคลนแล้วโผล่เฉพาะตาขึ้นมาเหนือระดับพื้นดิน เพื่อเฝ้าระวังอันตรายจนปลอดภัยจึงขึ้นมาหาอาหารอีกครั้งหนึ่ง

ภายในพื้นทรายมี หนอนปล้อง หลายชนิดฝังตัวอยู่และยื่นส่วนหน้าออกมาจับเหยื่อขณะที่น้ำท่วมบริเวณที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะเวลาที่คลื่นเริ่มซัดท่วมบริเวณที่อยู่ใหม่ๆบางแห่งอาจมี ไส้เดือนทะเล ขุดดินขึ้นมากองอยู่ตามพื้น นอกจากนี้หนอนทรายบางชนิดยังมีการสร้างปลอกเป็นหลอดโผล่พ้นพื้นทรายขึ้นมาด้วย

หอยที่ฝังตัวอยู่ในพื้นทรายเขตน้ำขึ้นน้ำลง ได้แก่ หอยตลับ ซึ่งชาวประมงใช้คราดลากไปตามพื้นทรายระดับลึกประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร จับไปเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังมี หอยเสียบ ขนาดเล็กอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามแนวชายฝั่ง และสามารถเคลื่อนย้ายที่อยู่ได้ดีโดยใช้เท้ายื่นออกมาจากกาบชอนไชไปตามพื้นบริเวณร่องน้ำตื้นๆ ซึ่งเกิดจากการไหลซึมของน้ำใต้ดินจากแผ่นดินสู่ทะเล มักมี ปูเสฉวน คลานไปมาหาอาหารจำพวกซากเน่าเปื่อยต่างๆ ปูเหล่านี้มักพบอยู่ในเปลือกหอยกาบเดี่ยวขนาดเล็กหลายชนิด เช่น หอยสังข์หวาน หอยน้ำพริก หอยตาวัว โดยเฉพาะปูเสฉวนขนาดเล็ก จะเลือกอยู่ในเปลือกหอยทับทิมเป็นส่วนใหญ่เพราะมีขนาดเหมาะสมกัน

เมื่อน้ำทะเลลดลงมักพบ ปูทหาร ซึ่งฝังตัวอยู่ในพื้นทรายขึ้นมาที่ผิวดินและเก็บอินทรีย์วัตถุในดินดูดกินแล้ววางลงบนพื้น ทำให้พื้นทรายที่เพิ่งโผล่พ้นน้ำมีเม็ดเล็กๆ เรียงตัวกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป นอกจากปูแล้วยังมี ดอกไม้ทะเล ฝังตัวอยู่ในพื้นทราย ด้านล่างมีฐานยึดเกาะติดกับเปลือกหอย ส่วนด้านบนแผ่บานหนวดออกที่ระดับพื้นทรายและยืดลำตัวทรงกระบอกขึ้นมาเมื่อน้ำขึ้นเพื่อหาอาหาร

ใต้ระดับน้ำลงต่ำสุดจะมี ปูม้า ปูหนุมาน คลานหรือว่ายน้ำอยู่ตามพื้น และมี เหรียญทะเล ดาวทะเล คลานไปมาหาอาหารอยู่ตามผิวดิน เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาวจะพบชุกชุมกว่าฤดูอื่น นอกจากนี้ยังมี ปลาหน้าดินบางชนิดที่อาศัยอยู่ในระดับนี้ และว่ายน้ำขึ้นลงตามช่วงน้ำขึ้นลงในแต่ละวันด้วย

back

R47

 

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตบนหาดทราย

        สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามชายหาดทราย มีการปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ การฝังตัว ขุดรูลึกลงไปในพื้นทราย สร้างหลอดเป็นเกราะกำบังตัว อาศัยวัสดุแข็งที่ตกหล่นอยู่หลบซ่อนตัว หรือการอพยพย้ายถิ่นขึ้นลงตามน้ำทะเล

ดอกไม้ทะเล (Sea anemone)
        เมื่อสังเกตดูตามพื้นทราย เรามักจะพบดอกไม้ทะเลฝังตัวอยู่ โดยโผล่เฉพาะหนวดขึ้นมาเหนือระดับพื้นดิน ตรงกลางวงหนวดคือปาก ตามปกติดอกไม้ทะเลจะฝังตัวอยู่ในพื้นดิน แต่เมื่อถูกขุดขึ้นมาจากที่อยู่อาศัย จะเห็นลักษณะของลำตัวเป็นท่อนที่ยืดหดได้

 

หอยเสียบ (Donax faba)
       
ตามพื้นทรายจะมีหอยเสียบซึ่งเป็นหอยสองกาบขนาดเล็ก เปลือกเป็นรูปพัดมีสีเปลือกแตกต่างกัน ฝังตัวอยู่เคลื่อนที่ด้วยการใช้เท้ายืด และหดได้ดึงตัวไปตามพื้นทราย และอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่ ตามระดับน้ำขึ้นลงด้วย

 

 

ไส้เดือนทะเล (Sand worm)
        หนอนปล้องจำพวกโพลิคีตที่มีระยาง แบบไม่มีข้อต่อยื่นออกไปทางด้านข้างลำตัวเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ ตามพื้นทรายริมชายฝั่งทะเลมีไส้เดือนทะเล หรือหนอนทรายฝังตัวอยู่ทั่วไป เมื่อน้ำทะเลขึ้นท่วมบริเวณที่อาศัย ไส้เดือนทะเลจะโผล่หัวขึ้นมาจากพื้นทรายเพื่อหาอาหาร

 

ปูลม (Ocypode ceratophthalama)
        ปูที่อาศัยอยู่ตามชายหาดทรายชนิดหนึ่งคือ ปูลม ซึ่งขุดรูอยู่ตามพื้นทรายระดับสูงที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง เพื่อใช้หลบซ่อนตัวเวลากลางวัน และมักออกจากรูมาหาอาหารในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ กระดองของปูลมเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามีก้านยาว ขาเดินเรียวยาวใช้สำหรับวิ่งไปบนพื้นทรายได้อย่างรวดเร็ว

 

ปูลมเล็ก (Ocypode macrocera)
       
อาศัยอยู่ตามชายหาดทรายเช่นเดียวกับปูลมชนิดตัวโต และมีการปรับตัวที่เห็นได้ชัดเจนคือ รูปร่างบอบบางใสกลมกลืนกับสภาพพื้นทรายมีขาเรียวยาว
ใช้สำหรับวิ่งไปมาบนพื้นทรายได้อย่างรวดเร็วจากการปรับตัวที่ดีนี้เอง จึงมีพฤติกรรมต่างจากปูลมชนิดตัวโต โดยมักออกหาอาหารในตอนกลางวันด้วย

 

ปูเสฉวน (Clibanarius longitarsus)
        เรามักพบปูเสฉวนได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลไม่ว่าจะเป็นแนวปะการัง โขดหิน ป่าชายเลน หรือชายหาดทราย บางครั้งที่น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว ปูเสฉวนบางตัวยังตกค้างอยู่บนชายหาด จึงต้องรีบคลานลงสู่ทะเล เพื่อให้รอดพ้นอันตรายจากการถูกล่า เมื่อลูกปูเสฉวนมีขนาดเล็กอยู่ ย่อมจำเป็นต้องอาศัยเปลือกหอยขนาดเล็กเป็นเกราะกำบังตัว เช่น เปลือกหอยทับทิม ด้วยเหตุนี้ หากหอยทับทิมถูกเก็บมาทำเครื่องประดับ เช่น สร้อย กรอบรูป จนเหลืออยู่น้อยลูกปูเสฉวนก็จะไม่มีที่อยู่อาศัย

ปูทหาร, ปูกองทัพ (Dotilla wichmani)
       
ปูทหารเป็นปูวงศ์เดียวกับปูลม แต่มีขนาดเล็ก ขุดรูอาศัยอยู่ตามชายหาดทรายที่มีดินโคลนปนเมื่อน้ำทะเลลดลง ปูเหล่านี้จะพากันขุดรู เพื่อใช้เป็นที่อยู่หลบซ่อนตัวไม่ให้ศัตรูพบเห็น แต่บางครั้งสภาพพื้นทรายยังชุ่มน้ำ ปูไม่สามารถขุดรูได้จึงสร้างหลุมหลบภัยคล้ายบังเกอร์ของทหารแทน

 

ปูใบ (Xanthid crab)
       
โดยธรรมชาติของปูใบ้ จะอาศัยอยู่ตามโขดหินที่มีแหล่งหลบซ่อนกำบัง แต่หากมีเศษวัสดุตกหล่นอยู่ตามพื้นทราย มักเป็นที่อยู่อาศัยพักพิงชั่วคราวของปูใบ้ ซึ่งไม่ชอบการขุดรูเหมือนปูชนิดอื่นๆ เมื่อน้ำทะเลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ก็อาจจะหาที่อยู่หลบซ่อนใหม่

 

ปูก้ามหัก (Macrophthalmus)
    ปูก้ามหักโดยทั่วไปอาศัยอยู่ตามหาดโคลน หรือหาดทรายที่มีดินโคลนปน เพราะมีอินทรีย์สารที่ปูชอบกิน ในบางเวลาที่มีศัตรูเข้ามาใกล้ ปูก้ามหักซึ่งไม่ขุดรูจึงหลบหนีศัตร ูโดยการฝังตัวลงไปในพื้นทราย และอาศัยก้านตาที่มีขนาดยาวโผล่ขึ้นมาพ้นพื้นทราย เพื่อสำรวจสภาพแวดล้อมก่อนที่จะขึ้นมาหาอาหารตามปกติ

 

ปูหนุมาน (Matuta lunaris)
        ปูหนุมานมีกระดองเป็นรูปกลม และมีแง่ยื่นออกมาด้านข้างเด่นชัด บนกระดองมีจุดสีแดงเล็กๆกระจัดกระจาย ขาเดินแบนเป็นกรรเชียงช่วยในการว่ายน้ำได้ดี ตามปกติ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินทรายริมชายฝั่ง หากถูกรบกวนสามารถฝังตัวลงไปในทรายได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสีกระดองด้านบนมีลักษณะกลมกลืนกับพื้นทรายด้วย

 

เหรียญทะเล (Sand dollar)
        ในช่วงฤดูหนาว บริเวณชายหาดมักมีเหรียญทะเลมารวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อน้ำทะเลลดลง เหรียญทะเลต่างพากันคลานลงไปในทะเล แต่เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้าจึงมีเหรียญทะเลตกค้างอยู่ และพยายามเคลื่อนที่ลงไปในทะเล ขณะเคลื่อนที่ลงไปนั้น จะทำให้เกิดรอยคลานไป ตามพื้นอย่างชัดเจน บางแห่งอาจพบอยู่รวมกันจำนวนมาก ทำให้พื้นชายหาดเต็มไปด้วยเหรียญทะเล

ดาวทราย (Astropecten indica)
        ดาวทะเลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 - 5 นิ้ว อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลทั่วไป และมักเคลื่อนที่เข้ามาบริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดทราย หรือทรายปนโคลนเพื่อเก็บกินเศษอาหารที่ตกหล่นอยู่ หรือกินหนอน หอยขนาดเล็กตามพื้นทะเล บางครั้งเมื่อน้ำทะเลลดลงไปแล้ว อาจพบดาวทรายตกค้างอยู่ตามแอ่งน้ำที่ถูกสันทรายกั้นไว้

back

R47