Picture

   มะเร็งตับ  

การเกิดโรคมะเร็งตับ
           
1. มะเร็งตับพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบได้น้อยในภาคใต้ 
            2. พบมากในเพศชายเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 4 ในเพศหญิง อัตราเฉลี่ยชาย : หญิง คือ 3:1
            3. มักจะเกิดในระหว่างอายุ 35 - 65 ปี 
            4. เป็นมะเร็งที่มีการดำเนินชีวิตใน 3 - 6 เดือน

สาเหตุ 
           
1. การเกิดของโรค แยกตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ
                   
1.1  ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง  (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิด คือ

                    1.2  ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักที่กระจายไปยังตับ
           
2. พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี พยาธิใบไม้ในตับ สารเคมีต่างๆ ยารักษาโรคบางชนิด ยาฆ่าแมลง สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารเคมีที่เกิดจากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ ภาวหะทุพโภชนาการ ภาวะทางระบบอินมูนคุณสมบัติทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค

อาการ
           
1. เริ่มต้นด้วยอาการเบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก
           
2. อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำๆ
           
3. ปวดหรือเสียดชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้ 
           
4. ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง

การวินิจฉัย
   
        
1. การตรวจหาระดับแอลฟ่าฟีโตโปรตีน (alpha-feto protein) ในน้ำเหลือง (Serum)
            2. การใช้เครื่องมือพิเศษ ได้แก่ เครื่องตรวจความถี่สูง(Ultrasound) และเครื่องแสดงภายอวัยวะด้วยรังสีไอโซโทป และเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ 
           
3. การดูลักษณะของเซลล์ด้วยการเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

การรักษา
           
1. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หวังผลในการหายขาดได้ แต่ใช้ได้ในผู้ป่วยที่ก้อนยังไม่โตมาก และการทำงานของตับยังดีอยู่ 
   
       2.  การฉีดยาเคมีและสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง ก้อนมะเร็งทำให้ก้อนยุบลง (Chemoembolization) 
            3. การฉีดยา เช่น แอลกอฮอล์เข้าก้อนมะเร็งโดยผ่านทางผิวหนัง ใช้ในก้อนมะเร็งเล็กๆ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้ 
   
       4. การใช้ยาเคมี ใช้เพียงเพื่อบรรเทาไม่สามารถหายขาดได้ 
           
5. การฉายแสง ใช้เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็ง
           
6. การใช้วิธีการผสมผสาน

การป้องกัน
           
1. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้วเก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่ 
           
2. ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆ หรืออาหารที่ใส่ยากันบูด
           
3. ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ หรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้ 
           
4. ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ 
           
5. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

การตรวจ และการรักษาโรคมะเร็งตับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะได้ผลดี

 

    

 

/ มะเร็งในระบบประสาท / มะเร็งของกระดูก / มะเร็งช่องปาก / มะเร็งกล่องเสียง

/ มะเร็งต่อมธัยรอยด์ / มะเร็งต่อมน้ำเหลือง / มะเร็งตับ / มะเร็งตับอ่อน / มะเร็งปากมดลูก /

/ มะเร็งมดลูก / มะเร็งรังไข่ / มะเร็งเต้านม / มะเร็งปอด / มะเร็งผิวหนัง /

/ มะเร็งต่อมลูกหมาก / มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก / มะเร็งเม็ดเลือดขาว /

/ มะเร็งถุงน้ำดีและท่อน้ำดี /